A PHP Error was encountered

Severity: Notice

Message: Only variable references should be returned by reference

Filename: core/Common.php

Line Number: 257

สอน Java ตอนที่ 7.3 Control Statement แบบทำซ้ำ for | Share

สอน Java ตอนที่ 7.3 Control Statement แบบทำซ้ำ for

สอน Java ตอนที่ 7.3 Control Statement แบบทำซ้ำ for

ตอนที่ 7.3 เราจะมาเรียนรู้ Control Statement แบบทำซ้ำ for ที่นิยมสำหรับผู้เริ่มต้นเพราะความเข้าใจง่ายในการใช้งาน จึงเป็นที่นิยมมากกว่าแบบอื่นๆ

Jul 02, 2016

แก้ไขล่าสุด มีผู้อ่าน 10,351  |  JAVA

Control Statement แบบทำซ้ำ for

การทำงานของ for จะตามลำดับดังนี้

  1. initialization คือ การกำหนดค่าเริ่มต้นให้ตัวแปร ตัวแปรนี้ส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้ในเงื่อนไขการทำซ้ำ
  2. loopContinuationCondition คือ ส่วนเงื่อนไขของการทำซ้ำเมื่อเป็นจริง (true) จะทำต่อไป ถ้าเป็นเท็จ (false) จะหยุดทำ
  3. statement คือ ส่วนคำสั่งที่ต้องการทำซ้ำ
  4. increment คือ ส่วนการเพิ่มค่าตัวแปร ส่วนนี้มักนำตัวแปรจากส่วน initialzation มาเพิ่มค่า
for (initialization; loopContinuationCondition; increment)
   statement

 

ตัวอย่างลำดับการทำงานของ for 

รอบที่ 1 

  1. initialization
  2. loopContinuationCondition เมื่อเงื่อนไขเป็นจริง (true)
  3. statement 
  4. increment 

รอบที่ 2 

  1. loopContinuationCondition เมื่อเงื่อนไขเป็นจริง (true)
  2. statement 
  3. increment 

รอบที่ 3

  1. loopContinuationCondition เมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ (false)
  2. ออกจากการทำซ้ำ

    แสดงลักษณะเป็น Flow chart ดังตัวอย่างด้านล่าง

     


    ตัวอย่างโปรแกรมการแสดงค่า 1 - 10 ด้วยการใช้ while loop 

    Source Code

    public class For {
       public static void main(String[] args) {
          for (int count = 1; count <= 10; count++) {
             System.out.println("%d ", count);
          }
          System.out.println();
       }
    } 

    Output

    1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 
    

     

    Control Statement แบบ for เป็นที่นิยมมากสำหรับผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรม เนื่องจากเข้าใจได้ง่ายกว่าแบบอื่นๆ  ผู้เขียนเลยจะยกตัวอย่างการเขียน for แบบแปลกๆ "ท่ายาก" ที่ผู้อ่านอาจจะยังไม่เคยเห็น


    แบบที่ 1 เลียนแบบ while ด้วยการใช้ for

    int count = 1;
    for (;;) {
       System.out.printf("%d ", count);
       if (count == 10) {
          break;
       }
       count++;
    }

    แบบที่ 2 เพิ่มตัวแปรในส่วน initialization, increment

    for (int i =1, j = 20; i <=10 ; i++, j+=2) {
       System.out.printf("%d ", j);
    }
    System.out.println();

    แบบที่ 3  ใน for สามารถใส่เพียงบ้างส่วนได้

    int count = 1;
    for(;;count++) {
    System.out.printf("%d ", count);
       if (count == 10) {
          break;
       }    
    }
    System.out.println();

    บทความถัดไป

    สอน Java ตอนที่ 7.4 การใช้คำสั่ง break และ continue


    แบ่งปัน

    ชอบ +1

    บันทึก

    ฝากคำถาม คำแนะนำ ได้ที่

    Facebook : Share.OlanLab.Com
    LINE ID : @olanlab
    อีเมล์ : olan@olanlab.com

    หลักสูตร

    สอน Java สำหรับผู้เริ่มต้น

    เรียนรู้การเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษา Java ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นสูงด้วยตัวเอง พร้อมแบบฝึกหัดและเทคนิคต่างๆ แบบ Step By Step
    Share คลังความรู้ด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ นวัตกรรมคอมพิวเตอร์ สอนเขียนโปรแกรม Php Java Html CSS Javascript C C++ Objective-C และอื่นๆ บนระบบปฏิบัติการ Window Linux Unix CentOS IOS Android
    โดยผู้เขียนที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ ให้บริการพื้นที่สำหรับนักเขียนที่ต้องการแบ่งปันความรู้ พร้อมให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่สนใจ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย